ห้องที่ปล่อยให้เช่า
แต่ถ้าน้องๆไม่อยากเซนต์สัญญาเช่าเอง น้องๆอาจจะไปหาห้องที่เค้าปล่อยเช่าโดยเข้าไปที่ www.gumtree.com.au หรือ http://www.aussietip.com ซึ่งเป็นเวปไซด์ของคนไทยในออสเตรเลีย
การแชร์บ้านกับคนอื่น
ที่เมลเบิร์นเป็นเรื่องปกติสำหรัคนออสเตรเลีย ลักษณะกันแชร์บ้านก็แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ ลักษณะนิสัย และประเพณีของเจ้าของบ้าน สำหรับคนไทยกันเองแล้ว ส่วนมากก็จะอยู่แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย บ้างก็ซื้อของกินเข้าบ้าน แบ่งกันทานแล้วแชร์เงินกัน คละกันไปว่าจะลงขันกันเป็นอาทิตย์ บ้างก็แล้วแต่ว่าใครมีเวลาก็ซื้อมา สลับกันไปตามมารยาท บิลค่าน้ำค่าไฟก็แบ่งจ่ายหารตามจำนวนคนอยู่
ระบบการขนส่งมวลชน
อีกสิ่งที่น้องๆ จะต้องใช้บริการบ่อยๆตลอดการอยู่ในเมลเบิร์นก็คือระบบการขนส่งมวลชน ระบบขนส่งของเมืองมีบริษัท MYKI (ไมกิ) เป็นผู้ดูแลอยู่ ดังนั้นสิ่งแรกที่น้องๆ ต้องทำก็คือการซื้อไมกิการ์ด เป็นการ์ดที่เราใช้เติมเงินและสแกนเพื่อใช้บริการรถราง รถไฟและรถบัส น้องๆ สามารถเชคราคาและเส้นทางได้ที่ http://ptv.vic.gov.au/tickets/myki/
ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ทำบัตรโดยสารรายเดือนหรือรายปี
ถ้าน้องๆ ซื้อบัตรเป็นรายเดือนหรือรายปี ก็ขอแนะนำให้น้องๆทำการขึ้นทะเบียนบัตร เผื่อมีการสูญหาย น้องๆยังสามารถแจ้งระงับบัตรและร้องขอบัตรใหม่ได้ แต่ถ้าไม่มีการลงทะเบียนบัตรของน้องก็จะกลายเป็นบัตรที่”หายแล้ว หายเลย”
ข้อห้ามในการใช้งานระบบการขนส่งมวลชน
มีเด็กไทยหัวหมอหลายคนแอบขึ้นรถรางโดยไม่ตรวจบัตร พวกเค้าเหล่านั้นก็เสี่ยงแก่การโดนจับโดน”ผู้ตรวจ” บทลงโทษของคนที่แอบขึ้นรถรางก็คือค่าปรับ 200 กว่าเหรียญ ซึ่งถ้าไม่จ่ายค่าปรับก็จะทบขึ้นสองเท่าทุกๆเดือน กฏอีกข้อหนึ่งก็คือห้ามวางขาบนเบาะ เพราะน้องๆ ก็จะโดนปรับด้วยเช่นกัน
อาหารการกินเป็นเรื่องที่สำคัญ
เมลเบิร์นเป็นเหมือนที่ผสมผสานวัฒนธรรมของผู้คนในหลากหลายสัญชาติ ที่เมืองนี้จึงมีทั้งอาหารไทย จีน แขก ฝรั่งและญีปุ่นมากมาย สำหรับคออาหารไทยหรือรายการโทรทัศน์ไทยก็ไม่ต้องกลัวเหงาเพราะมีร้านอาหารไทยรสเด็ดหลายร้านที่เมลเบิร์นรวมไปถึงซุปเปอร์มาเกตที่ขายสินค้าไทย แต่ร้านอาหารไทยส่วนมากจะมีวิธีการปรุงอาหารแบบรสกลาง ไม่จัดจ้านเท่ากับเมืองไทย น้องๆก็ทำใจไว้นะคะ
อาชีพและประสบการณ์ทำงาน
อาชีพหลักๆของเด็กนักเรียนไทยในช่วงแรกนั้นก็คือ อาชีพพนักงานเสิร์ฟ ผู้ช่วยพ่อครัว และอาชีพนวดและพนักงานทำความสะอาดตามบ้าน สำหรับอาชีพในครัวนั้น น้องๆหลายคนบอกว่า “ผมสามารถทำอาหารได้ทำอาหารกินเองเป็น แต่ไม่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำอาหารเพื่อขายได้” ดังนั้นน้องๆที่คิดอยากจะทำงานครัวจะต้องเปิดใจรับกับสิ่งใหม่ๆที่กำลังจะเข้ามา เพื่อการทำงานแบบมือชีพ
ปัญหาหลักของนักศึกษาไทยในการทำงาน
ก็คือเรื่องภาษา น้องๆยังไม่มีความมั่นใจในการฟัง พูด น้องๆสามารถหางานได้ที่ http://www.aussietip.com แต่ถ้ามั่นใจในภาษาอังกฤษน้องๆก็สามารถสมัครทำงานในร้านที่มีเจ้าของต่างชาติเพื่อค้นหาประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆได้อีกด้วย ยังไงลองเข้าไปดูที่เว็บไซต์ http://www.seek.com.au/ และน้องๆก็จะพบหนทางสว่างของสายงานอาชีพที่หลากหลายออกไปดังนั้นไม่ต้องกลัวกับการเริ่มนับหนึ่งใหม่
ช่องทางการรับข่าวสารเพิ่มเติม
น้องๆสามารถรับทราบข่าวสาร, กิจกรรมของชุมชนไทยในเมลเบิร์นได้ที่นิตยสารเพื่อชุมชน Ants Magazine ซึ่งแจกฟรีตามร้านอาหารไทยและซุปเปอร์มาเกตไทย
Myki อปุกรณ์การเดินทางชิ้นเดียวใน Melbourne
บัตร Myki เป็นบัตรเดินทางอัตโนมัติชนิดเดียวที่บังคับใช ้ณ ปัจจุบันใน Melbourne ที่สามารถใช้กับ Train, Tram และ Bus ลักษณะเป็นพาสติกแข็งและมีอายุการใช้งานนาน ทนน้ำและอาจจะไม่ทนความร้อนนักนะคะ โดย
จะต้องเติม credit ในบัตรให ้เพียงพอต่อการเดินทางในแต่ละครั้ง
Myki
ซื้อ Myki
ซื้อได้ตาม 7-11 ทั่วเมือง, ร้านค้าทั่วไป หรือเค้าเตอร์ของสถานีรถไฟต่าง ๆ โดยจะ
ต้องจ่ายค่าตัวบัตรเปล่า $10 และเติมเงินต่างหาก
เติมเงิน Myki
ต้องจ่ายค่าตัวบัตรเปล่า $10 และเติมเงินต่างหาก
เติมเงิน Myki
สามารถเติมได ้ตาม 7-11 ทั่วเมือง ร้านค้ากว่า 800 ร้านทั่วเมือง, เค้าเตอร์ของสถานีรถไฟ, เครื่องเติมเงินอัตโนมัติ, คนขับรถ Bus โดยเติมได ้มากที่สุด $20 และ PTV Hub
เติมเงิน Myki (Continue)
- 2 Hours: 1 ครั้งของการหักค่าบริการคิดจากวินาทีที่ Touch On สามารถเดินทางกี่ครั้งก็ได ้กับยานพาหนะไหนก็ได ้ภายใน 2 ชั่วโมง และหาก touch on หลัง 6 โมงเย็นจะสามารถเดินทางถึง ตี 3 ถือเป็นโบนัสที่เขามอบให ้ ยกตัวอย่าง Zone 1, full fare = $3.58